O2 อำนาจหน้าที่และพื้นที่รับผิดชอบ

๑. รักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

๒. ดูแล ควบคุม และกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๓. ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา

๔. รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร

๕. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

๖. ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศ

๗. ปฏิบัติการอื่นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2) งานป้องกันปราบปราม
                         มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยงานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจ การรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ 
                   

3) งานจราจร
                        มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน

4) งานสืบสวน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวน อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับ ตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ 

5) งานสอบสวน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ.

พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา คำสั่ง ตร. 419/2556

ประมวลกฏหมายอาญ

คำสั่ง-537-1

คำสั่ง ตร. ที่ 538/2555 เรื่อง การปฏิบัติและอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานสอบและผู้ปฏิบัติงานสอบสวน

คำสั่ง-538-1

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนาดูนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

อำเภอนาดูนเดิมเป็นหมู่บ้านที่ได้ยกฐานะให้เป็นตำบล มีชื่อว่า ตำบลนาดูน อยู่ในความปกครองของอำเภอวาปีปทุม ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคามไปทางทิศใต้ประมาณ 65 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศใต้ประมาณ 26 กิโลเมตร การเดินทางไปติดต่อราชการของประชาชนไปมายากลำบากมาก เนื่องจากระยะทางไกล การคมนาคมไม่สะดวก ต้องเดินทางด้วยเท้า ใช้สัตว์ หรือใช้ล้อเกวียนเป็นพาหนะ ประกอบกับมีป่าไม้เกิดขึ้นหนาแน่น เป็นที่หลบซ่อนของโจรผู้ร้ายโดยเฉพาะโจรปล้นทรัพย์สินมีชุกชมมาก ด้วยเหตุดังกล่าว ประชาชนชาวตำบลนาดูนจึงได้ปรึกษาหารือกันทำเรื่องขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอนาดูน ในปี พ.ศ. 2508 ราษฎรตำบลนาดูนได้เสนอเรื่องขอยกฐานะตำบลนาดูนขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และได้จัดหาที่ดินสำหรับปลูกสร้างสถานที่ราชการ 502 ไร่ โดยขอรับบริจาคจากประชาชนและใช้ที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์

ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2512 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้ง กิ่งอำเภอนาดูน ต่อมากิ่งอำเภอนาดูนได้ยกฐานะเป็น อำเภอนาดูน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2522

การปกครองส่วนท้องที่

อำเภอนาดูนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

1.นาดูน(Na Dun)10 หมู่บ้าน6.หัวดง(Hua Dong)15 หมู่บ้าน
2.หนองไผ่(Nong Phai)8 หมู่บ้าน7.ดงยาง(Dong Yang)11 หมู่บ้าน
3.หนองคู(Nong Khu)14 หมู่บ้าน8.กู่สันตรัตน์(Ku Santarat)9 หมู่บ้าน
4.ดงบัง(Dong Bang)9 หมู่บ้าน9.พระธาตุ(Phra That)8 หมู่บ้าน
5.ดงดวน(Dong Duan)10 หมู่บ้าน

ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567